ความสำคัญของการการวางโครงสร้างรหัสสินค้า ที่มี Serial Number กับการใช้งาน Inventory Control System
- สินค้าที่เกี่ยวกับ IT ซึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆ เยอะมาก และโดยทั่วไปมักจะอ้างอิงกับ Serial Number ของอุปกรณ์แต่ละตัว การจัดการโครงสร้างสินค้าด้วยการแยกรหัสและมีการระบุ Serial Number จะทำให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เรียกว่าเป็นด่านแรกและเป็นหัวใจของธุรกิจบางประเภท อย่างที่ยกตัวอย่าง คือ อุปกรณ์ไอที กระบวนการที่สำคัญ คือ ตั้งแต่การรับสินค้าเข้าคลัง ที่โดยทั่วไปหมายถึง 1 รหัสสินค้า แต่มีหลายชิ้น มี Serial Number ของตัวมันเองแยกไป ระบบที่ดีต้องสามารถรองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์บาร์โค้ด และทำงานได้ง่าย ผู้เขียนเคยศึกษาพบว่า บางโปรแกรม แนะนำให้ผู้ใช้งาน มีการกำหนดรหัสสินค้าและ Serial number เป็นรายตัว (1:1) ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ รหัสสินค้าในระบบมีมากมายมหาศาล และไม่น่าจะมีจุดสิ้นสุด กับอีกวิธี คือ การกำหนดสินค้าเป็นรหัสเดียว แต่แยกคลังสินค้าออกตามแต่ละ Serial Number แค่คิด? ก็ปวดหัวแล้วใช่มั้ยคะ
แน่นอนตามวิธีที่เคยพบข้างต้น ผู้ใช้งานระบบจะเหนื่อยมาก ยังไงก็ตามระบบที่ดีจะต้องรองรับการใช้งานตามรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งก็หมายถึง เหมาะสมกับสภาพการทำงานจริง มองภาพให้ออกในการใช้ระบบให้ช่วยงานเรา ไม่ใช่ให้คนทำงานเหนื่อยหนักไปกว่าเดิม บางโปรแกรมเขียนฟังก์ชั่นและหน้าตาการทำงานน่าใช้มากๆ แต่ติดปัญหาเรื่องการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลก็จบเช่นกัน หากจะมองหาระบบ Inventory Control ที่รองรับการทำงานร่วมกับ Serial Number ขอให้ได้มีโอกาสคุยกับผู้ขายด้วยว่า วางโครงสร้างอย่างไรในเรื่องการกำหนดรหัส หลายโปรแกรมบอกว่ารองรับ แต่รองรับแบบไหน? ขยี้ประเด็นให้ละเอียดให้เคลียร์ไปเลยนะคะ ^^
สามารถทดสอบใช้งานโปรแกรมฟรีได้ที่ Workplus+ Cloud
ศึกษาข้อมูล Package WorkPlus+Cloud ได้ที่ Package WorkPlus+