Location vs Inventory Management

ปัญหาเรื่องคลังสินค้าเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการพบอยู่เสมอ ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ

Inventory management หมายถึงการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งมีความต้องการทราบว่ามีคลังสินค้าอะไรบ้าง อยู่ที่ไหน มีสินค้าอะไรอยู่ในคลัง มีจำนวนคงเหลือและมูลค่าสินค้าในคลังเท่าไร เป็นต้น

Location management หมายถึงการจัดการที่เก็บสินค้า ซึ่งมีความละเอียดเพิ่ม มากกว่า คือสามารถทราบถึงสถานที่วางสินค้า มีสินค้าอะไรอยู่บ้าง และมีจำนวนเท่าไร หรือมีสินค้าใดบ้างที่มีการวางสินค้ามากกว่า 1 จุดได้

ปกติในระบบ ERP จะมีระบบ inventory ให้อยู่แล้วแต่ ระบบ location มักจะเป็นระบบเสริมเนื่องจากใช้งานยุ่งยาก เพราะมีรายละเอียดในการใช้งานมากกว่า เช่น เมื่อมีการซื้อสินค้าเข้ามา ระบบจะทราบว่าสินค้าได้ทำการรับเข้าคลังมาแล้วจำนวนเท่าไร มีกี่รายการ ซึ่งเมื่อรับเสร็จแล้วพนักงานคลังสินค้าก็จะเอาสินค้าไปจัดเก็บ คำถามคือ พนักงานจะรู้ได้อย่างไรว่า จะนำไปวางไว้ที่ไหน ซึ่งตอนนี้ระบบ location จะช่วยแนะนำให้ว่าที่วางเดิมเคยวางไว้ที่ไหน แล้วที่ไหนมีพื้นที่วางบ้าง จะได้ไม่เสียเวลาเดินไปเก็บ เช่นเดียวกัน เมื่อลูกค้ามีคำสั่งซื้อเข้ามา ตรวจสอบว่าสินค้ามี จึงมีคำสั่งให้หยิบสินค้าไปขาย ซึ่งระบบ location จะทำการพิมพ์คำสั่งให้ไปหยิบสินค้า ว่าจะต้องหยิบอะไร จำนวนเท่าไร และต้องเดินอย่างไรให้มีการเคลื่อนที่น้อยที่สุด เมื่อหยิบสินค้าเสร็จ ก็สามารถพิมพ์รายการสินค้าที่หยิบได้ทันที

ใครบ้างที่ต้องใช้ระบบ Location Management

  1. คลังสินค้าที่มีจัดเก็บจำนวนมากกว่า 1,000 จุด
  2. มีสินค้าในคลังมากกว่า 1,000 รายการ
  3. สินค้า 1 รายการมีการวางมากกว่า 1 จุด
  4. สินค้าที่มีควบคุม lot
  5. มีการเก็บ/หยิบสินค้ามากกว่า 1,000 เที่ยว

Function ที่ต้องมีอะไร

  1. จัดเก็บสินค้า เนื่องจากเหตุผลการรับสินค้ามีหลายประเภท เช่น รับจากการซื้อจากผู้ขาย, รับจากลูกค้าคืนสินค้า (CN),  ดังนั้นเมื่อมีการทำรับสินค้าเข้าคลังแล้ว ระบบจะแสดงรายการว่ามีรายการใดบ้างว่ายังไม่จัดเก็บ แล้วจะแสดงรายการที่ไม่จัดเก็บมา เพื่อให้พนักงานนำสินค้าไปจัดเก็บให้เรียบร้อย
  2. การหยิบสินค้าตามใบสั่งขาย หรือตามใบสั่งซื้อของลูกค้า ระบบจะดึงรายการที่สั่งซื้อ แล้วจะแนะนำว่า จะต้องไปหยิบสินค้าที่ตำแหน่งใด จำนวนเท่าไร
  3. การหยิบสินค้าตามใบสั่งผลิต ระบบจะแสดงรายการสินค้าที่ต้อง ว่าอยู่ที่ไหน และหยิบได้จำนวนเท่าไร โดยต้องไม่เกินจำนวนที่ขอเบิก
  4. การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลัง
  5. การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างคลัง
  6. การตรวจนับสินค้าตามที่เก็บ
  7. จัดเก็บสินค้าลงพาเลท

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องใช้

  1. เครื่องพิมพ์ barcode และ sticker
  2. Tablet
  3. เครื่องอ่าน barcode แบบพกพา ใช้ร่วมกับ Tablet
  4. ระบบ WiFi ในคลังสินค้า

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ลดเวลาในการจัดเก็บ และหยิบสินค้า
  2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  3. ลดความผิดผลาดในการทำงาน เช่น การหยิบสินค้าผิดตัว หรือ การบันทึกจำนวนผิด

ลองประเมินดู ว่าจำเป็นหรือยังที่ต้องมีใช้ระบบ Location Management ในคลังสินค้า

administrator

Scroll Up